โนวเลดเจอร์ให้บริการด้านการบริหารโครงการ ทั้งการจัดฝึกอบรม (Project Management Training) ในแบบ Public Course และ In-House รวมถึงให้บริการให้คำปรึกษา (Consulting & Mentoring) สำหรับโครงการลักษณะ Predictive และ Agile เช่น การแก้ไขปัญหาในโครงการ การพัฒนา Competency ของผู้จัดการโครงการ การสร้างทัศนคติที่ดีสำหรับผู้จัดการโครงการ เป็นต้น รวมถึงการจัดตั้ง PMO การสร้างกระบวนการและขั้นตอนการบริหารโครงการที่เป็นมาตรฐานขององค์กร และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการ เช่น Microsoft Project Onlineread more
KNOWLEDGER
สถาบันโนวเลดเจอร์ ประกอบธุรกิจด้านการจัดฝึกอบรม (Training) ให้คำปรึกษา (Consulting) รวมถึงการฝึกสอน (Coaching) ด้านการบริหารโครงการ สำหรับโครงการลักษณะ Predictive และ Agile บริษัทก่อตั้งขึ้น โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโครงการผู้มีประสบการณ์การจัดฝึกอบรม การให้คำปรึกษาและการฝึกสอนพัฒนาด้านการบริหารโครงการมากว่า 20 ปี
หลักสูตรฝึกอบรมของบริษัท Knowledger มุ่งเน้นทั้งการอบรมในรูปแบบเตรียมตัวสอบให้ได้ Certified Project Management Professional (PMP) ของสถาบัน PMI เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการยอมรับในระดับสากล และ มุ่งเน้นในการการนำองค์ความรู้ ทักษะ เครื่องมือ และทัศนคติที่จำเป็นในการบริหารโครงการ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้เครื่องมือและแนวปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริงผ่านการทำ Workshop สถานการณ์ (Scenario-Based Case) แบบต่อเนื่องโดยการสร้างเหตุการณ์จำลองเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เครื่องมือในการแก้ปัญหาตลอดการอบรม เพื่อให้เข้าใจวิธีการทำงานตลอดโครงการตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนจบโครงการ
Siriporn Pisanpattanakul, PMP
Project Manager, MIB Co., Ltd.
“การได้เรียน Intensive PMP Exam Preparation Course กับ Knowledger ถือว่าเป็นโชคดีของตัวเองมาก เพราะได้เจอแหล่งความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการสอบตั้งแต่แรก ทำให้ไม่ต้องอ่าน PMBOK เอง ประหยัดเวลามากขึ้น และยังได้หลักการในการบริหารโครงการซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
หลักสูตรนี้มีข้อดีที่เหมาะสำหรับผู้ที่เตรียมตัวสอบ PMP เป็นอย่างยิ่งคือ"
Our Services
Our Instructors
หลักสูตรฝึกอบรมบริหารโครงการ (Project Management Training Course) ถูกออกแบบและบรรยายโดยวิทยากรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน (PMP Certified) และมีประสบการณ์ ในการบริหารโครงการมากว่า 20 ปี รวมถึงเป็นวิทยากรและให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการ ในสถาบันและองค์กรชั้นนำต่างๆ มากว่า 5 ปี read more
Project Management Training
13 Courses
- Set up and Sustain Project Management Office (2 Days)
- PMI-Agile Certified Practitioner Exam Prep-Guarantee (4 Days)
- Agile Project Management (2 Days)
- Waterfall vs Agile Project Management (5 Days)
- Intensive PMP Exam Preparation-Guarantee (6th Edition) (Saturday-Sunday)
- Intensive PMP Exam Preparation– Guarantee (6thEdition) (7 Days)
- Project Management Master (9 Days)
- Project Management Professionals (6 Days)
- Project Management in Practice (3 Days)
- Project Management Fundamental (2 Days)
- Essential Attitude for Project Success (3 Days)
- Microsoft Project Online for Users (3 Days)
- Manage Project with Microsoft Project (2 Days)
IT Management Training
3 Courses
- Business Analysis Essentials (2 Days)
- IT Project Management (6 Days)
- IT Service Management (ITIL) In Practice (2 Days)
General Management Training
4 Courses
- Enterprise Risk Management (1 Day)
- Transform Yourself to be Proactive manager (1 Day)
- Leadership in Practice & Case Study (1 Day)
- Junior Project Manager (0.5x2 Days)
หลักสูตรอบรมการบริหารโครงการ (Project Management Training)
Set up and Sustain Project Management Office (2 Days)
ผู้อบรมจะได้รับความรู้ในการจัดตั้งและบริหารจัดการ Project Management Office (PMO) เพื่อให้ PMO เป็นหน่วยงานที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จโครงการและมีคุณค่าต่อองค์กร read more
Intensive PMP Exam Preparation– Guarantee (6thEdition) (7 Days)
หลักสูตรสำหรับเตรียมตัวสอบ PMP ที่รับประกันผลสอบโดยสถาบันไทยแห่งแรกในประเทศไทย หากสอบไม่ผ่าน ยินดีคืนเงินค่าอบรมให้ 100% (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) เหมาะสำหรับผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการจะสอบผ่าน Certified PMP และต้องการแนวทางการเตรียมตัวสอบที่เห็นผลอย่างชัดเจน ผู้อบรมจะได้รับการทดสอบและยืนยันความพร้อมจากสถาบันฯก่อนเข้าสู่สนามสอบจริงread more
Project Management Master (9 Days)
เหมาะสำหรับผู้จัดการโครงการและผู้สนใจที่ต้องการเสริมสร้างความรู้และฝึกฝนทักษะการบริหารโครงการตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงระดับสูง รวมถึงการสร้างเจตคติที่ดีและทรงพลังในการบริหารโครงการให้สำเร็จลุล่วง ส่งผลให้เป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพที่มีความโดดเด่น ผู้เรียนจะได้ความรู้ ฝึกทักษะและเสริมสร้างความคิดที่ดีผ่านการเรียน และการทำ Workshop อย่างเข้มข้น read more
Project Management Professionals (6 Days)
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้และทักษะในการบริหารโครงการอย่างครบถ้วนเพื่อนำไปใช้งานในการบริหารโครงการ ผู้อบรมจะได้รับความรู้ควบคู่การฝึกปฏิบัติผ่านการทำ Workshop ด้วย Scenario-based และ Project Presentation read more
Project Management in Practice (3 Days)
เป็นหลักสูตรระยะสั้นที่เหมาะสำหรับผู้จัดการโครงการหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องการความรู้และเครื่องมือที่สำคัญและทรงประสิทธิภาพในการบริหารโครงการและเห็นผลอย่างรวดเร็ว read more
Project Management Fundamental (2 Days)
เหมาะสำหรับผู้จัดการโครงการหรือผู้ที่สนใจที่ไม่มีเวลามากนัก ผู้อบรมจะได้เรียนรู้กระบวนการการริเริ่มโครงการและวางแผนโครงการโดยใช้เครื่องมือกาารบริหารโครงการที่สำคัญ อาทิเช่น Project Charter, Work Breakdown Structure, Critical Path read more
Essential Attitude for Project Success (3 Days)
สำหรับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร Project Management Professionals (6 วัน) และผู้สนใจที่ต้องการต่อยอดความรู้ความเข้าใจในการนำไปใช้งานและเพิ่มพูนความคิดและทัศนคติที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จให้กับโครงการมากยิ่งขึ้น นำมาซึ่งการเป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพที่โดดเด่นกว่าใคร ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และฝึกหัดการสร้างและการวัดความสัมฤทธิ์ผลของโครงการ การสร้างความกระตือรือร้นในการจัดการโครงการ การสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงและการสร้างอิทธิพลต่อผู้อื่นอย่างมีชั้นเชิง read more
หลักสูตรอบรมการจัดการทั่วไป (General Management Training)
Enterprise Risk Management (1 Day)
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างทักษะในการประเมินและจัดการความเสี่ยงในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธการบริหารธุรกิจที่วางไว้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจได้ทั้งความเสี่ยงในเชิงกลยุทธและความเสี่ยงในเชิงปฏิบัติการ ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจหรือบริหารงานในองค์กรเพื่อให้กระบวนการต่างๆในการทำงานได้รับผลกระทบต่อความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ ส่งผลให้การปฏิบัติงานหรือกลยุทธทางธุรกิจมีโอกาสสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น read more
Transform Yourself to be Proactive Manager (1 Day)
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และฝึกฝนทักษะในการ สร้างพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก รวมถึงสร้างทัศนคติที่ดีในการปรับปรุงการทำงานจากตั้งรับ สู่การทำงานแบบเชิงรุก ผ่านกรณีศึกษาและการทำ Group Workshop เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง read more
Leadership in Practice & Case Study (1 Day)
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างทักษะที่สำคัญในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การเป็นผู้นำในสภาวะการต่างๆ และลักษณะของผู้นำที่ดีเพื่อนำมาปรับใช้ในงานประจำ read more
การบริหารโครงการ ในองค์กรที่เป็น Silo Culture
ในบทความที่แล้ว ผมได้อธิบายถึง ลักษณะของ Silo Culture หรือ วัฒนธรรมการทำงานแบบ ไซโล ไปแล้ว ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึง แนวทาง การปรับตัว และรับมือ หากท่านต้อง เป็น Project Manager ที่ ทำงาน ในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงาน แบบ Silo Culture เพื่อให้โครงการของเรา ดำเนินการไปได้ สำเร็จตามเป้าหมาย read more..
Silo Culture อุปสรรคสำคัญของการบริหารโครงการ
Silo Culture หรือ วัฒนธรรมการทำงานแบบ ไซโล คือพฤติกรรม ของการทำงาน แบบแยกส่วนงาน โดยฝ่ายงานหรือแผนกงานต่างๆ ในองค์กร จะทำงานเฉพาะ Job Description ของหน่วยงานตนเองเท่านั้น ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สร้างกระบวนการที่เป็นอุปสรรคในการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ยึดถือเป้าหมายเฉพาะส่วนงานของตนเอง แต่ไม่สนใจเป้าหมายในภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารโครงการ อย่างไร read more..
กระต่าย กับ เต่า ใน ITIL Framework
ITIL Framework ประกอบไปด้วย บุคคลหลายบทบาทหน้าที่ มาทำงานร่วมกัน เพื่อบริหารจัดการ IT Service ให้องค์กร บางบทบาทต้องทำงานเร็วแข่งกับเวลา บางหน้าที่ต้องละเอียดรอบคอบ ช้าแต่ชัวร์ ในบทความนี้ เราจะมาดูกันครับ ว่างานไหนเหมาะกับกระต่าย และงานไหนเต่าจะได้เปรียบ read more..
เปรียบเทียบเส้นทางอาชีพ PMP และ ITIL Certified
Certified Project Management Professional (PMP) และ Certified Information Technology Infrastructure Library (ITIL) เป็นใบรับรอง ที่สามารถเพิ่มโอกาส และความก้าวหน้าในสายอาชีพ ของเราได้ โดย PMP จะเน้นในเรื่องการบริหารโครงการ ส่วน ITIL จะเน้นในเรื่อง การบริหาร IT Service แม้ว่า ใบรับรองทั้งสอง จะมุ่งเน้นไปที่ ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันและเปิดโอกาส ในการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น บทความนี้ จะลงรายละเอียดเพื่อเปรียบเทียบเส้นทางอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ ใบรับรอง PMP และ ITIL read more..
ทำไม IT Project Manager จึงจำเป็นต้องเข้าใจ ITIL Process
ITIL Process คือ Framework หรือ กระบวนการ ที่เป็น Best Practice ในการบริหารจัดการ IT Service ขององค์กร และภารกิจหลัก ของ Project Manager ในโครงการด้านไอที ก็คือการส่งมอบระบบงานไอทีให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านการพัฒนา Software Application โครงการปรับปรุงหรือติดตั้ง IT Infrastructure หรือโครงการด้าน IT Security เป็นต้น การที่ IT Project Manager จำเป็นต้องเข้าใจ ITIL Process เพื่อช่วยในการบริหารโครงการ ก็ด้วยเหตุผลต่างๆ หลายประการ ดังนี้ read more..
ความแตกต่างระหว่าง Change Control Board และ Change Advisory Board ในโครงการด้านไอที
โครงการด้านไอที เช่น การพัฒนา Software Application หรือ การปรับปรุง IT Infrastructure ต่างๆ นั้น Project Manager มักจะต้องทำงานร่วมกับ Change Control Board (CCB) และ Change Advisory Board (CAB) ซึ่งบ่อยครั้ง เกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่ของ กลุ่มบุคคล 2 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น บทความนี้ จะขออธิบาย บทบาทหน้าที่ ของทั้ง CCB และ CAB เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ให้กับ PM ที่ต้องบริหารโครงการด้านไอที read more..
ก้าวกระโดดของ Generative AI กับความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ
การเกิดขึ้นมาของ Generative AI (Gen-AI) ช่วยจุดประกายนวัตกรรมให้กับธุรกิจได้อย่างไร้ขีดจำกัด แต่ก็อาจแฝงไปด้วยความท้าทายที่คาดไม่ถึงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Deepfakes, Bias Amplification, หรือ Hallucination บทความนี้จึงขอชวนทุกท่านมาสำรวจตัวอย่างการใช้งานและความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญ รวมถึงทำความรู้จักเบื้องต้นกับมาตรการที่สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ read more..
พร้อมแล้วหรือยัง? หากต้องรับการตรวจ สธ.38
แนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับประกาศ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2565
ตั้งแต่ประกาศ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2565 ถูกบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายภายใต้ขอบเขตของประกาศ มีหน้าที่ต้องนำส่งผลประเมิน RLA (Risk Level Assessment) และผลการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ภายใต้เงื่อนไขและกรอบระยะเวลาที่กำหนด* ซึ่งลำดับถัดไปจะเป็นการแจ้งกำหนดการเข้าตรวจสอบรายบริษัทของผู้ประกอบธุรกิจ (บริษัท) โดย ก.ล.ต. ต่อไป ซึ่งบางบริษัทอาจมีความกังวลว่า แล้วบริษัทของตนเองมีความพร้อมจริงๆ หรือยัง? หรือจะถูกพบประเด็นที่มีนัยสำคัญจากการตรวจสอบหรือไม่? อย่างไรก็ตาม หากมีการเตรียมความพร้อมที่ดีเพียงพอ ก็จะช่วยลดความกังวลและเพิ่มความมั่นใจว่าจะผ่านกระบวนการตรวจสอบได้อย่างราบรื่น และได้รับผลการตรวจสอบตามที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น บทความนี้จึงขอมาแบ่งปันแนวทางเบื้องต้นในการเตรียมความพร้อมสำหรับรับการตรวจสอบ เพื่อให้ลองนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละบริษัท ดังนี้ read more..
7 ขั้นตอนในการจัดการ เมื่อลูกค้าขอเพิ่มความต้องการ ที่นอกเหนือจากขอบเขตงานโครงการ
การจัดการความต้องการเพิ่มเติมจากลูกค้า ซึ่งเป็นความต้องการ ที่อยู่นอกเหนือจาก ขอบเขตงานโครงการ อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่เป็นสถานการณ์ทั่วไป ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในการบริหารโครงการ หลายครั้ง Project Manager ประสบปัญหาในการบริหารเวลา และงบประมาณโครงการ เพราะต้องเผชิญกับปัญหานี้ ในบทความนี้ ผมจะขอนำเสนอ เป็นแนวทางทีละขั้นตอนในการจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว read more..
ข้อมูลสำคัญ ที่ Business Analyst (BA) ต้องบันทึกใน Software Requirement Spec.
โครงการ พัฒนา Software Application คือการนำความต้องการของผู้ใช้งาน มาสร้างเป็น Software เพื่อสนับสนุนการทำงาน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องทำการรวบรวมความต้องการ จากผู้ใช้งาน และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อนำมาสร้างเป็น Software Application และอุปสรรคประการสำคัญ ของโครงการดังกล่าว คือ การสื่อสารที่ผิดพลาด ระหว่าง ผู้ให้ความต้องการ กับ ผู้ที่มีหน้าที่พัฒนา Software ส่งผลให้ โครงการ ล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายทางธุรกิจ read more..
เราจะเปลี่ยน Accidental Project Manager ให้เป็น Professional Project Manager ได้อย่างไร ตอนที่ 1
ในบทความก่อนหน้านี้ผมได้เขียนอธิบายถึง Accidental Project Manager ไปแล้ว กล่าวโดยสรุป Accidental Project Manager คือ คนที่ต้องมารับหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการ โดยที่ตัวเองยังขาดความพร้อม ทั้งความรู้ ทักษะ ด้านการบริหารโครงการ ในบทความนี้ เราจะอธิบายถึง ทางแก้ไข ของปัญหาข้างต้น ทั้งในมุมมองของพนักงาน และในมุมมองขององค์กร read more..
Accidental Project Manager คืออะไร
จากบทความก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายถึงความสำคัญของ Project Management ต่อการพัฒนาองค์กรไปแล้ว ซึ่งก็พอจะสรุปได้ว่า ในทุกๆธุรกิจ จะต้องมีงานโครงการให้ทำเสมอ และจำนวนงานที่เป็นลักษณะโครงการ ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆปี ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลต่อเนื่อง ให้พนักงานในองค์กร ต้องมารับบทบาทหน้าที่ เป็น Project Manager หรือผู้จัดการโครงการไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ และไม่ว่าจะมีความพร้อมหรือไม่ ก็ตาม เราเรียก Project Manager ที่ตกอยู่ในสภาวะนี้ว่า read more..
Project Management สำคัญอย่างไร ต่อองค์กร
ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายไปแล้ว ว่า องค์กรรุ่นใหม่ จะมีงานที่เป็นลักษณะงานโครงการ มากขึ้น เนื่องจากสาเหตุอะไรบ้าง และสิ่งที่เป็นคำถามตามมาคือ องค์กร จำเป็นจะต้องมีทักษะ และความสามารถด้านการบริหารโครงการ หรือ Project Management Skill หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่ง ความสามารถด้าน Project Management นั้น สำคัญต่อองค์กร อย่างไร เราจะมาลงรายละเอียดกัน ในบทความนี้ครับ read more..
ทำไมองค์กรรุ่นใหม่ จึงมีงานลักษณะเป็นโครงการมากขึ้น
งานลักษณะโครงการ หรือ Project-Based คืองานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็นภารกิจพิเศษ ที่ไม่ใช่งานประจำ และต้องส่งมอบงานได้ ตามขอบเขตงาน ภายใต้กำหนดเวลา งบประมาณ และคุณภาพที่คาดหวัง หรืออาจจะเรียกงานลักษณะ Project-Based ที่ต้องทำภารกิจพิเศษนี้ว่า Mission-Based PMO read more...
6 เรื่อง ที่ PMO ไม่ควรทำ
ผมได้เขียนบทความ แนะนำ บทบาทหน้าที่ ของ PMO ไปแล้ว ในหลายบทความก่อนหน้า โดยในบทความนี้ ผมจะขออธิบายถึง สิ่งที่ PMO ต้องพึงระวัง และไม่ควรทำ เพื่อเป็นแนวทางให้ PMO หลายๆท่าน ระมัดระวัง ในการปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยง ผลกระทบด้านลบ ที่อาจจะเกิดขึ้น กับหน่วยงาน PMO read more...
8 ขั้นตอน ในการจัดทำ PMO Roadmap
ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนอธิบายถึง ความสำคัญของ PMO Roadmap และ สิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนใน PMO Roadmap ไปแล้ว ในบทความนี้ จะขอแนะนำ แนวทางการจัดทำ PMO Roadmap รวมถึงประเด็นต่างๆ หรือ ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ในการจัดทำ PMO Roadmap เพื่อให้หลายท่านที่เป็น PMO ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ หน่วยงาน PMO read more...
PMO Roadmap คืออะไร และสำคัญอย่างไร
กระแสการจัดตั้ง หน่วยงาน Project Management Office หรือ PMO ในองค์กรนั้น ได้รับความนิยมอย่างมาก ในช่วงหลายสิบปี ที่ผ่านมา และสิ่งที่เป็นปัญหา ลำดับต้นๆ ของการจัดตั้ง หน่วยงาน PMO นั่นคือ ความคาดหวังของผู้บริหาร และหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการให้ PMO ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ในองค์กร และการกำหนด Job Description ของ PMO นั้น ต้องพิจารณา ปัจจัยและบริบทต่างๆ หลายประการ เช่น ลักษณะโครงสร้างองค์กร จำนวนโครงการในองค์กร จำนวน Project Manager ในองค์กร จำนวนพนักงานในฝ่ายงาน PMO และ ความพร้อมของบุคคลกรในองค์กร ทั้งในเรื่องความรู้และความสามารถในการบริหารโครงการ หาก PMO ไม่สามารถบริหารจัดการ ความคาดหวังของ CEO และผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆได้ ก็จะส่งผลให้หน่วยงาน PMO อาจจะถูกประเมินว่า ไม่มีประโยชน์ หรือไม่สามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้ และส่งผลให้หน่วยงาน PMO ถูกยกเลิกไปในที่สุด read more...
8 เรื่อง ที่ PMO ต้องทำ เพื่อบริหารความคาดหวังของ CEO
ในหลายบทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนอธิบายถึง PMO หรือ Project Management Office ไปในหลายหัวข้อ และ หลายมุมมอง เช่น แนวทางการบริหารความขัดแย้ง เมื่อ PMO ต้องรายงานสถานะโครงการที่มีปัญหา ให้ผู้บริหารทราบ หรือ บทบาทหน้าที่ ของ PMO ไปแล้ว ในบทความนี้ ผมจะขอนำหัวข้อเรื่อง วิธีการ ที่ PMO ใช้ ในการบริหารความคาดหวัง ของ CEO หรือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร และจากประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ในการจัดตั้ง และบริหารจัดการ หน่วยงาน PMO ในหลายองค์กร ผมพบว่า PMO เป็นหน่วยงาน ที่ถูกคาดหวัง จากผู้บริหาร ให้ สามารถ เปลี่ยนแปลง และพัฒนา การบริหารโครงการ ให้มีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลา อันสั้น ด้วยทรัพยากร ที่จำกัด โดยทั่วไป CEO หรือ ผู้บริหาร จะคาดหวังกับ PMO ในหลายเรื่อง เช่น read more...
การบริหารความขัดแย้ง เมื่อ PMO ต้องรายงาน สถานะ ของโครงการที่มีปัญหา ให้ CEO ทราบ
ในหลายบทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนอธิบายถึง บทบาทหน้าที่ ของ Project Management Office หรือ PMO ไปแล้ว และจากประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ในการจัดตั้ง และบริหารจัดการ หน่วยงาน PMO ในหลายองค์กร ผมพบว่า PMO เป็นหน่วยงาน ที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งต่างๆ ค่อนข้างสูง ทั้งความขัดแย้ง ที่เกิดมาจากการที่ต้องไปกำกับดูแลการบริหารโครงการ ของ Project Manager ภายในองค์กร และภายนอกองค์กร หรือ ความขัดแย้งที่เกิดมาจากความคาดหวังของผู้บริหาร ที่ต้องการให้ PMO ผลักดันให้โครงการทั้งหมดขององค์กร บรรลุตามเป้าหมาย รวมไปถึง ความขัดแย้งที่เกิดมาจาก การรายงาน สถานะโครงการทั้งหมดขององค์กร ให้ผู้บริหารทราบ ในกรณีที่ มีบางโครงการ มีสถานะ ที่ล่าช้า หรือเกิดปัญหาในโครงการ read more...
การเข้าใจ วัฒนธรรมองค์กร คือสิ่งจำเป็นในการ บริหาร Stakeholder ในโครงการ
คำว่า Stakeholder หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการนั้น หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ หรือสามารถสร้างผลกระทบให้โครงการได้ และมักจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับโครงการ เพื่อเพิ่มส่วนได้ และลดส่วนเสียของตัวเอง โดยบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลดังกล่าว มักจะมาพร้อมความคาดหวัง และระดับอำนาจที่แตกต่างกัน การบริหารจัดการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ คือการบริหารความคาดหวังของเขาเหล่านั้น เพื่อให้โครงการได้รับการสนับสนุน จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก read more...
การถอดบทเรียนโครงการ คือกุญแจสำคัญ ในการพัฒนาการบริหารโครงการ ในองค์กร
หากจะอ้างอิง ถึง วงจรการพัฒนาคุณภาพ อย่าง P-D-C-A หรือ Plan-Do-Check-Act แล้ว การถอดบทเรียนโครงการ ก็จะเปรียบได้กับขั้นตอน การ Check ในวงจร P-D-C-A โดยจุดประสงค์หลักของ การถอดบทเรียนโครงการ หรือการทำ Project Lesson Learned นั้น ก็เพื่อเรียนรู้ทั้งเรื่อง ที่สำเร็จ และ เรื่องที่ล้มเหลว ในโครงการ เพื่อนำไป ต่อยอดในสิ่งที่ประสบความสำเร็จ และนำไปปรับปรุงแก้ไข ในสิ่งที่ล้มเหลว read more...
ความแตกต่างระหว่าง ความรับผิดชอบ และการทำงานแบบเชิงรุก
การบริหารโครงการนั้น เป็นงานที่ต้องมีการวางแผนงานร่วมกัน ระหว่าง Project Manager และ ทีมงานโครงการ โดยทุกคนมีหน้าที่ ต้องทำงานที่ตัวเอง ได้รับมอบหมาย ให้เสร็จตามกำหนดเวลา และได้คุณภาพ รวมถึงครบตามขอบเขตงาน ดังนั้น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ Project Manager และทีมงาน ต้องมี เพื่อให้งานลุล่วงไปตามแผนงาน แต่เหนือไปกว่าความรับผิดชอบต่องานของตนเอง เรายังคาดหวังให้ทุกคนในโครงการ มีวิธีการทำงานแบบ เชิงรุก หรือ Proactive เพื่อ read more...
องค์กรของคุณ บริหารโครงการ ได้ดีแล้วหรือไม่ เขาดูกันอย่างไร
ความสามารถในการบริหารโครงการ ขององค์กร หรือ Organizational Project Management Capabilities (OPMC) ถือเป็นปัจจัยความสำเร็จประการสำคัญ ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบัน ที่ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ มากมาย เช่น read more...
12 Principles สำหรับการบริหารโครงการ อ้างอิงตาม PMBOK 7th
Project Management Body of Knowledge (PMBOK) ได้เดินทางมาถึง Edition 7th แล้ว ในบทความนี้จะขออธิบายถึง 12 หลักการพื้นฐาน หรือ 12 Principles สำหรับการบริหารโครงการ อ้างอิงตาม PMBOK 7th ซึ่งเป็นสิ่งที่ Project Manager และ ทีมงานโครงการ ต้องเข้าใจ และใช้เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ และส่งเสริมให้โครงการประสบความสำเร็จ โดยในบทความนี้ จะขออธิบายเป็นภาพสรุป โดยย่อๆ ของ 12 Principles สำหรับการบริหารโครงการ และจะอธิบายในรายละเอียดของแต่ละ Principle พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ในบทความถัดๆ ไป read more...
ความแตกต่างระหว่าง Quality Control กับ Scope Validation ในการบริหารโครงการ
จากบทความเรื่องสาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ซึ่งได้เขียนมาหลายตอนแล้ว จะพบว่าปัญหาเรื่องคุณภาพของสิ่งส่งมอบในโครงการเป็นเรื่องสำคัญที่มักจะทำให้โครงการเกิดการล่าช้าขึ้น เนื่องจากปัญหาเรื่องคุณภาพงานจะทำให้เกิดงานเพิ่มในโครงการ เนื่องจากต้องไปแก้ไขปัญหาคุณภาพ และส่งผลให้โครงการล่าช้า ในบทความนี้ผมจะขอนำกิจกรรมที่มักจะถูกใช้ในการควบคุมคุณภาพของโครงการ มาอธิบายลงในรายละเอียด นั่นคือ การนำผลงาน หรือสิ่งส่งมอบในโครงการมาทำการตรวจสอบก่อนส่งถึงมือลูกค้า ซึ่งในการบริหารโครงการนั้นทีมงานมักจะมีความสับสนในกิจกรรมการตรวจสอบงาน เนื่องจากการตรวจสอบงานในโครงการสามารถแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภทหลักๆ คือการตรวจสอบเพื่อทำ Quality Control และการตรวจสอบเพื่อทำการ Validate Scope ทั้งนี้จะขออ้างอิงคำนิยาม และความหมายของ ทั้ง Quality Control และ Validate Scope ตามหนังสือ Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) ของสถาบัน PMI หรือ Project Management Institute ดังนี้นะครับ read more...
ทักษะ Active Listening กับการบริหารโครงการ
การบริหารโครงการ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Predictive หรือ แบบ Agile นั้น Project Manager จะต้องมีทักษะสำคัญประการหนึ่งที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ และใช้ในการรับฟังเพื่อแก้ไขปัญหาของโครงการ นั่นคือ ทักษะการฟังอย่างเข้าใจ หรือ Active Listening read more...
การแก้ปัญหา Requirement ของโครงการ ไม่ชัดเจน ด้วย MVP
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกันในตอนที่ 1-3 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ โครงการประสบกับปัญหาเกิดงานเพิ่ม หรืองานงอก และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดงานงอก นั่นคือ ทีมงานโครงการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในโครงการได้ไม่ครบถ้วน และลูกค้า หรือผู้ใช้งาน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมความต้องการในโครงการ ส่งผลให้มีผู้อ่านบางท่านติดต่อมาถามว่าหากไม่สามารถกำหนด Requirement ของโครงการให้ชัดเจนได้ ตั้งแต่ช่วงต้นโครงการนั้น จะมีวิธีการรับมือกับปัญหานี้อย่างไร read more...
บทความ ด้านการบริหารโครงการ อื่นๆ
7 ทักษะพื้นฐานสุดๆ สำหรับ PM ป้ายแดง
การบริหารโครงการสำคัญอย่างไร
เส้นทางสู่การเป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพ
ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ
เทคนิคการสอบเพื่อ Certified PMP
เทคนิคการจัดการความเสี่ยงในโครงการ
อุปสรรคสำคัญในการเริ่มต้น นำการบริหารโครงการแบบ Agile มาใช้ในองค์กร
การสร้างวัฒนธรรม Self Organizing Team สิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารโครงการแบบ Agile
ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Project Manager และ Business Analyst
Project Manager (PM) คือ ผู้นำของทีมงานให้สามารถส่งมอบโซลูชั่นหรือแนวทางการแก้ไขปัญหา ได้สำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ภายใต้เงื่อนเวลา งบประมาณ และขอบเขตงานที่กำหนดไว้ Business Analyst (BA) คือ ผู้นำของทีมงานให้สามารถค้นหาความต้องการที่แท้จริง พร้อมทั้งทำให้มั่นใจว่าโซลูชั่นที่ใช้งานนั้นมีความถูกต้อง สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้จริง ทั้งสองบทบาทที่กล่าวมานั้น อาจมีบางกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการที่มีความเหมือนหรือมีความทับซ้อนกับของทั้ง PM และ BA read more...
แนวทางการพัฒนาความรู้และทักษะสู่การเป็นผู้ทดสอบความปลอดภัยระบบงานสารสนเทศ หรือ Penetration Tester มืออาชีพ
ปัจจุบันระบบสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก การให้บริการลูกค้าผ่านเครือข่าย internet เป็นบริการที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการลูกค้าเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน (Internet banking and mobile banking) การทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าทางช่องทางออนไลน์ (E-Commerce) การอบรมทางไกลผ่าน internet (E-Learning) การรายงานข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านเครือข่าย internet เป็นต้น บริการต่างๆเหล่านี้ ต้องพึ่งพาอาศัยระบบสารสนเทศในการให้บริการ ส่งผลให้ความปลอดภัย read more...
Work Breakdown Structure โครงการติดตั้งระบบป้องกัน Advanced Persistent Threats (APT)
2 ปีก่อน ผมเขียนบทความเรื่อง Sense of Accountability โดยอธิบายถึงทัศนคติที่ดีของ Project Manager ในการรับผิด และรับชอบ ผลการปฏิบัติงานทุกเรื่องในโครงการ และในการบรรยายเรื่องการบริหารโครงการ หลายๆครั้ง ก็จะต้องอ้างอิงถึง ตารางมอบหมายงานหรือกิจกรรมในโครงการ ให้คนที่เกี่ยวข้องทราบบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง ซึ่งจะมีบทบาท 4 ประเภท ดังนี้ Responsibility, Accountability, Consult และ Inform รวมเรียก ตารางดังกล่าวว่า RACI Table read more...
การวางกลยุทธ์ด้าน IT เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์องค์กร
ทุกองค์กรจะมีการวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินการทางธุรกิจที่เรียกว่า Corporate Strategy ที่ระบุเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินการ หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งขององค์กรจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในแผนกลยุทธ์ขององค์กรอย่างชัดเจน และต้องสามารถวางแผนกลยุทธ์ของ IT ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับแผนและความต้องการขององค์กร รวมทั้งได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนด้าน IT เพื่อสร้างความได้เปรียบเทียบ read more...
ปัจจัยความสำเร็จในการ Migrate ระบบ ไอที สู่ Cloud
ในปัจจุบันนี้ คงไม่มี CIO ท่านใด ไม่รู้จักคำว่า Cloud Computing และ ประโยชน์ของ Cloud Computing ก็เป็นที่ชัดเจนแล้ว เนื่องจาก การย้ายหรือ Migrate ระบบ ไอทีขององค์กร จากการติดตั้งใช้งานในระบบของเราเอง ไปติดตั้งและใช้งานจาก Cloud Environment นั้น ทำให้ CIO ง่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรระบบไอที ง่ายในการคำนวณต้นทุนการใช้งานระบบไอที และง่ายในการบริหารผู้เชี่ยวชาญที่ต้องทำงานในฝ่ายไอที CIO ที่ต้องการจะนำระบบไอทีไปสู่การติดตั้งใช้งานใน Cloud มักจะเริ่มต้นจาก read more..
เพิ่มสมรรถนะ IT ด้วย Enterprise Architecture Management
Enterprise Architecture Management หรือ EAM คือการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมของระบบ IT ในมุมมองระดับองค์รวม (enterprise) ซึ่งเปรียบเสมือนการวางผังเมืองให้ IT เพื่อให้การออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ IT ที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยจัดแบ่งสถาปัตยกรรมออกเป็น 5 domains คือ Business Domain, Application Domain, Technology/Infrastructure Domain, Data/Information Domain และ Security Domain read more..