แนวข้อสอบ PMP ใหม่ (เริ่มใช้ 2 มกราคม 2021)

ตามประกาศล่าสุดของ PMI เกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวข้อสอบ PMP นั้น PMI แจ้งว่า แนวข้อสอบปัจจุบันที่ PMI ประกาศใช้ตั้งแต่ มิถุนายน 2015 นั้น จะสิ้นสุดลง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2020 ดังนั้น ข้อสอบ PMP ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2021 เป็นต้นไป จะเป็นไปตามแนวข้อสอบใหม่

เพื่อให้ผู้สนใจสอบ PMP ได้ประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้องว่า ตนเองควรจะเตรียมตัวสอบในแนวทางเดิมและรีบสอบให้ทันภายใน  30 ธันวาคม 2020 หรือเริ่มเตรียมตัวเรียนรู้หัวข้อตามแนวทางใหม่ เพื่อใช้ในการสอบหลัง 2 มกราคม 2021 สถาบันโนวเลดเจอร์จึงขอแจกแจงรายละเอียดของแนวข้อสอบ PMP ใหม่ให้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ ดังนี้

    1. ข้อสอบแนวใหม่ยังคงใช้เนื้อหาจากหนังสือ Project Management Body of Knowledge (PMBOK) 6th Edition เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบ แต่ให้ความสำคัญมากขึ้นกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับ Agile และหนังสือเล่มที่เสริมมากับ Package PMBOK คือ Agile Practice Guide
    2. แนวข้อสอบใหม่มีการเปลี่ยนการจัดหัวข้อ จากเดิมแบ่งตาม 5 Process Groups (Initiating, Planning, Executing, Monitoring and Controlling, Closing) ตามหนังสือ PMBOK เป็นการแบ่งเป็น 3 หัวข้อใหม่ คือ People, Process และ Business Environment โดยมีการให้น้ำหนักหัวข้อต่าง ดังนี้

แนวข้อสอบใหม่เน้นข้อสอบในส่วนของ Process 50% และ People 42%
แนวข้อสอบเก่าเน้นข้อสอบ Executing 31%, Monitoring and Controlling 25% และ Planning 24% (รายละเอียดดังรูป)

แนวข้อสอบใหม่
แนวข้อสอบ PMP ใหม่, PMP, Project Management Professional, PMP Exam, PMP Practice Questions, PMP Questions, ติวสอบ PMP, ข้อสอบ PMP, คำถาม PMP, สอบ PMP, อบรมบริหารโครงการ, แนวข้อสอบ PMP ใหม่

แนวข้อสอบเก่า
แนวข้อสอบ PMP เก่า, PMP, Project Management Professional, PMP Exam, PMP Practice Questions, PMP Questions, ติวสอบ PMP, ข้อสอบ PMP, คำถาม PMP, สอบ PMP, อบรมบริหารโครงการ, แนวข้อสอบ PMP ใหม่

1.  เนื่องจากโครงการปัจจุบันมีสภาพแวดล้อมที่หลากหลายมากขึ้น รูปแบบการทำงานจึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับโครงการ ดังนั้น ข้อสอบแนวใหม่จะมีข้อสอบในรูปแบบ Predictive project management approach 50% และ Agile หรือ Hybrid approach อีก 50% ในขณะที่ข้อสอบเดิมจะเป็น Predictive project management approach ถึงเกือบ 99% ดังนั้น สำหรับผู้ที่จะสอบ PMP ในแนวข้อสอบใหม่ อาจจะต้องกลับมาอ่าน PMBOK ในมุมมองใหม่ โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาส่วนที่เป็นการประยุกต์ Agile มาทำงานในโครงการมากขึ้น
2. จากข้อ 2 ในแนวข้อสอบใหม่ให้ความสำคัญกับ People ถึง 42% ดังนั้นแนวข้อสอบใหม่เน้น Soft skills มากขึ้นกว่าเดิมมากเมื่อเปรียบเทียบกับข้อสอบเดิมที่เน้นกระบวนการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับข้อ 3 ที่แนวข้อสอบใหม่มีจำนวนข้อสอบของแนวทางการทำงานแบบ Agile รวมกับ Hybrid มากขึ้น 50%  ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Agile ที่เน้นการให้ความสำคัญกับคนมากกว่ากระบวนการและเครื่องมือ เน้นความร่วมมือกับลูกค้ามากกว่าการต่อรองสัญญา
3. ชื่อหัวข้อย่อยในแนวข้อสอบใหม่แฝงจิตวิญญาณของการทำงานแบบ Agile ปะปนอยู่ค่อนข้างมาก ผู้สนใจสอบ PMP ที่เคยอ่านหนังสือ PMBOK มาแล้วหรือผ่านการอบรมในหลักสูตรเตรียมสอบ PMP เมื่อได้เห็นแนวข้อสอบใหม่ อาจจะรู้สึกว่าหัวข้อย่อยเหล่านี้คืออะไร มีคำศัพท์หลายคำที่ไม่คุ้นเคย หรือนึกไม่ออกว่าหัวข้อย่อยเหล่านี้อยู่ส่วนไหนของหนังสือ PMBOK เพื่อให้เข้าใจแนวข้อสอบใหม่ได้ชัดมากขึ้น ผู้เขียนขอแนะนำว่าให้ใช้เอกสาร 2020 PMP® Exam Content Crossover Map v1 และ PMP Exam Content Outline version เก่าที่ PMI ให้เพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง  
4. หัวข้อในแนวข้อสอบใหม่ที่เพิ่มมาใหม่ มาจากเนื้อหาใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน PMBOK 6th Edition  เช่น Agile, Project Approach, Manage Project Knowledge, Benefit Management Plan, Business Value, Project Manager Competency (The PMI Talent Triangle)  หัวข้อการสอบที่เพิ่มมาใหม่ ได้แก่

People

       1.  Value servant leadership
       2.  Measure training outcomes
       3.  Maintain team and knowledge transfer
       4.   Assess behavior through the use of personality indicators
       5.  The emotional needs of key project stakeholders

Process

       1. Assess opportunities to deliver value incrementally
       2. As necessary to find the Minimum Viable Product
       3. Coordinate with other projects and other operations
       4.  Recommend a project methodology/approach (i.e, predictive, agile, hybrid)
       5. Use iterative, incremental practices throughout the project lifecycle (e.g., lessons learned, stakeholder engagement, risk)
       6. Confirm approach for knowledge transfers

Business Environment

      1. Classify compliance categories
      2. Determine potential threats to compliance
      3.  Use methods to support compliance
      4. Analyze the consequences of noncompliance
      5. Determine necessary approach and action to address compliance needs (e.g., risk, legal)
      6.  Measure the extent to which the project is in compliance
      7. Verify measurement system is in place to track benefits
      8. Value
      9. Assess and prioritize impact on project scope/backlog based on changes in external business environment
      10.  Recommend options for scope/backlog changes (e.g. schedule, cost changes)
      11. Continually review external business environment for impacts on project scope/backlog
      12. Assess organizational culture
      13. Evaluate impact of organizational change to project and determine required actions
      14. Evaluate impact of the project to the organization and determine required actions

จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแนวข้อสอบข้างต้น หวังว่าผู้สนใจสอบ PMP จะมีข้อมูลช่วยในการตัดสินใจในการเตรียมตัวสอบมากขึ้น ในบทความถัดไป ผู้เขียนจะมาแนะนำเรื่องการเตรียมตัวสอบสำหรับแนวข้อสอบ PMP ใหม่ให้ทราบค่ะ

อาจารย์ อรินทรา ปัญญายุทธการ
Project Management Professional (PMP)
Microsoft Certified Technical Specialist (MS Project) (MCTS)
PMI-Agile Certified Practitioner (PMI-ACP)
Certified ScrumMaster (CSM)
Certified Scrum Product Owner (CSPO)
Large-Scale Scrum Practitioner (LeSS)
Certified Software Quality Analyst (CSQA)
Certified Software Tester (CSTE)
Certified Software Project Manager (CSPM)